ต้นทุนการผลิตน้ำมันนั้น มีความสำคัญอย่างไรต่อราคาน้ำมัน
ต้นทุนการผลิตน้ำมันของแต่ละประเทศนั้น มีความสำคัญอย่างไรต่อราคาน้ำมัน ? และจะสามารถบอกทิศทางราคาน้ำมันหรือ ได้หรือไม่ ??
ล่าสุดทาง Zerohedge.com ได้ออกรายงานต้นทุนการผลิตน้ำมันในประเทศหลักๆของโลกออกมา ตามในรูปและลิงค์ด้านล้างนี้ แต่ถ้าถามผมว่าข้อมูลพวกนี้เชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน ? ดู้ไว้คร่าวๆได้ครับ แต่อย่านำไปเป็นข้อมูลในการลงทุนก่อนที่จะเข้าใจเบื้องหลังของมันก่อนเลยครับ ผมจะอธิบายให้ฟังว่าทำไม
-------------------------
เคยสงสัยไหมครับ ว่าทำไมสถาบันการเงินใหญ่ๆของโลกเวลาวิเคราะห์ราคาน้ำมัน ทำไมถึงไม่เอาต้นทุนในแต่ละประเทศมากางออกให้ดูกันชัดๆ แลัววิเคราะห์ต่อให้ดูจากข้อมูลเหล่านี้ไปเลยล่ะ ?
คำตอบคือเป็นไปได้ยาก ที่เราจะเห็นรายงานในลักษณะนี้บ่อยๆครับ เพราะ 2 เหตุผลด้วยกัน
1) เพราะต้นทุนจริงๆ นั้นหายากมาก ทุกๆหลุมน้ำมันนั้นมีความต่างกันโดยสิ้นเชิง มีต้นทุนที่ต่างกัน และน้ำมันในประเทศต่างๆก็มีหลายบริษัทที่ขุดเจาะอยู่ ข้อมูลเหล่านี้ถ้าไม่มีข้อมูลภายในมาจริงๆก็จะไม่ทราบเลยอีกเช่นกัน ได้เพียงแค่คาดการณ์เท่านั้น
และต้นทุนที่คาดการณ์เหล่านี้ก็เป็นเพียงต้นทุนที่ขุดออกมาจากหลุมเท่านั้น ยังไม่รวมค่าขนส่ง ที่ต่างกันในหลายๆประเทศ ในแต่ละทวีป หรือยังไม่รวมต้นทุนแฝงที่แต่ละประเทศยังต้องพยายามรักษาระดับรายได้ของตัวเองอีกด้วยครับ
และ 2) ต่อให้เรารู้ต้นทุนที่แท้จริงเลย เราก็ยังไม่สามารถบอกทิศทางของราคาน้ำมันได้อยู่ดี ทางนักวิเคราะห์ต่างๆ จึงไม่ค่อยนำข้อมูลพวกนี้มาพูดถึงเท่าไหร่นัก
-------------------------
ทำไมต่อให้เรารู้ต้นทุนที่แท้จริง แต่เราก็ยังไม่สามารถบอกทิศทางของราคาน้ำมันได้อยู่ดี ?
ถ้าให้ขยายความก็คือ ในยามราคาตลาดขาขึ้นเราคงใช้ต้นทุนนี้เป็นข้อมูลไม่ได้ แต่ในยามขาลง เป็นไปได้ที่เราจะพอใช้ต้นทุนนี้เป็นข้อมูล
น้ำมันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งราคาไม่ได้ซื้อขายกันตามต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ซื้อขายกันด้วยปริมาณความต้องการใช้ในตลาดมากกว่า ตราบใดที่ยังมีแรงแย่งกันซื้อและอุปทานมีจำกัด ราคาจะขึ้นไปถึงเท่าไหร่ก็ได้ ไม่ว่าต้นทุนจะถูกแค่ไหนก็ตาม
แต่ในยามราคาขาลง ในช่วงที่ความต้องการซื้อน้อยกว่าอุปทานที่ผลิตได้ในตลาด ต้นทุนการผลิตอาจจะเป็นข้อมูลสำคัญ
เพราะหากเรานำต้นทุนการผลิตมาเรียงจากผู้ผลิตที่สูงที่สุด ลงมาสู่ผู้ผลิตต้นทุนต่ำที่สุด และดูว่า หากราคาน้ำมันลงไปต่ำมากกว่าต้นทุนของผู้ผลิตที่ต้นทุนสูงต่างๆ ผู้ผลิตเหล่านี้ก็คงจะต้องต่างทยอยปิดการผลิตกันไปซักวันนึง และด้วยความต้องการใช้ในระดับปัจจุบัน จะมีผู้ผลิตหายไปกี่คน และคนสุดท้ายที่ยังอยู่รอดได้ (Marginal producer) เค้ามีต้นทุนเท่าไหร่ ราคานั้นแหละอาจจะเป็นข้อมูลสำคัญ ทำให้เราคาดเดาระดับที่ต่อสุดของราคาน้ำมันได้
-------------------------
แล้วต้นทุนในตารางคือราคาที่เราควรนำมาใช้ไหม ?
-------------------------
ต้นทุนแฝงของราคาน้ำมันนั้นเป็นไปได้หลายรูปแบบมาก ยกตัวอย่างว่าราคาที่เห็นในข่าวต่างๆ ก็ยังไม่ใช่ราคาที่เราไปรับซื้อเค้าได้จริงๆด้วย
-------------------------
ล่าสุดทาง Zerohedge.com ได้ออกรายงานต้นทุนการผลิตน้ำมันในประเทศหลักๆของโลกออกมา ตามในรูปและลิงค์ด้านล้างนี้ แต่ถ้าถามผมว่าข้อมูลพวกนี้เชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน ? ดู้ไว้คร่าวๆได้ครับ แต่อย่านำไปเป็นข้อมูลในการลงทุนก่อนที่จะเข้าใจเบื้องหลังของมันก่อนเลยครับ ผมจะอธิบายให้ฟังว่าทำไม
-------------------------
เคยสงสัยไหมครับ ว่าทำไมสถาบันการเงินใหญ่ๆของโลกเวลาวิเคราะห์ราคาน้ำมัน ทำไมถึงไม่เอาต้นทุนในแต่ละประเทศมากางออกให้ดูกันชัดๆ แลัววิเคราะห์ต่อให้ดูจากข้อมูลเหล่านี้ไปเลยล่ะ ?
คำตอบคือเป็นไปได้ยาก ที่เราจะเห็นรายงานในลักษณะนี้บ่อยๆครับ เพราะ 2 เหตุผลด้วยกัน
1) เพราะต้นทุนจริงๆ นั้นหายากมาก ทุกๆหลุมน้ำมันนั้นมีความต่างกันโดยสิ้นเชิง มีต้นทุนที่ต่างกัน และน้ำมันในประเทศต่างๆก็มีหลายบริษัทที่ขุดเจาะอยู่ ข้อมูลเหล่านี้ถ้าไม่มีข้อมูลภายในมาจริงๆก็จะไม่ทราบเลยอีกเช่นกัน ได้เพียงแค่คาดการณ์เท่านั้น
และต้นทุนที่คาดการณ์เหล่านี้ก็เป็นเพียงต้นทุนที่ขุดออกมาจากหลุมเท่านั้น ยังไม่รวมค่าขนส่ง ที่ต่างกันในหลายๆประเทศ ในแต่ละทวีป หรือยังไม่รวมต้นทุนแฝงที่แต่ละประเทศยังต้องพยายามรักษาระดับรายได้ของตัวเองอีกด้วยครับ
และ 2) ต่อให้เรารู้ต้นทุนที่แท้จริงเลย เราก็ยังไม่สามารถบอกทิศทางของราคาน้ำมันได้อยู่ดี ทางนักวิเคราะห์ต่างๆ จึงไม่ค่อยนำข้อมูลพวกนี้มาพูดถึงเท่าไหร่นัก
-------------------------
ทำไมต่อให้เรารู้ต้นทุนที่แท้จริง แต่เราก็ยังไม่สามารถบอกทิศทางของราคาน้ำมันได้อยู่ดี ?
ถ้าให้ขยายความก็คือ ในยามราคาตลาดขาขึ้นเราคงใช้ต้นทุนนี้เป็นข้อมูลไม่ได้ แต่ในยามขาลง เป็นไปได้ที่เราจะพอใช้ต้นทุนนี้เป็นข้อมูล
น้ำมันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งราคาไม่ได้ซื้อขายกันตามต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ซื้อขายกันด้วยปริมาณความต้องการใช้ในตลาดมากกว่า ตราบใดที่ยังมีแรงแย่งกันซื้อและอุปทานมีจำกัด ราคาจะขึ้นไปถึงเท่าไหร่ก็ได้ ไม่ว่าต้นทุนจะถูกแค่ไหนก็ตาม
แต่ในยามราคาขาลง ในช่วงที่ความต้องการซื้อน้อยกว่าอุปทานที่ผลิตได้ในตลาด ต้นทุนการผลิตอาจจะเป็นข้อมูลสำคัญ
เพราะหากเรานำต้นทุนการผลิตมาเรียงจากผู้ผลิตที่สูงที่สุด ลงมาสู่ผู้ผลิตต้นทุนต่ำที่สุด และดูว่า หากราคาน้ำมันลงไปต่ำมากกว่าต้นทุนของผู้ผลิตที่ต้นทุนสูงต่างๆ ผู้ผลิตเหล่านี้ก็คงจะต้องต่างทยอยปิดการผลิตกันไปซักวันนึง และด้วยความต้องการใช้ในระดับปัจจุบัน จะมีผู้ผลิตหายไปกี่คน และคนสุดท้ายที่ยังอยู่รอดได้ (Marginal producer) เค้ามีต้นทุนเท่าไหร่ ราคานั้นแหละอาจจะเป็นข้อมูลสำคัญ ทำให้เราคาดเดาระดับที่ต่อสุดของราคาน้ำมันได้
-------------------------
แล้วต้นทุนในตารางคือราคาที่เราควรนำมาใช้ไหม ?
อย่างที่เรียนครับ ต้นทุนในรูปนั้นใช้ได้แค่คร่าวๆมาก ถ้าเรานำต้นทุนการผลิตของซาอุที่ 3 เหรียญหรือ 8 เหรียญที่เป็นต้นทุนรวมมาใช้ ทุกวันนี้ราคาน้ำมันอยู่ที่ 70 เหรียญ ซาอุคงผลิตมาล้นตลาดแล้ว กำไรรวยเละ
แต่เหตุผลที่ซาอุไม่ผลิตมาเพิ่มนั้น เพราะจริงๆเค้ามีต้นทุนแฝง นั้นคือระดับราคาน้ำมันที่ประเทศเค้าต้องการเป็นรายได้เข้าประเทศ ที่ลือๆกันก็คือที่ระดับ 60 เหรียญต่่อบาร์เรล เพราะหากราคาต่ำกว่านี้ ซาอุจะไม่สามารถจ่ายสวัสดิการณ์ต่างๆในประเทศให้ประชาชนได้ หรือไม่สามารถสร้างโครงการรัฐตามแผนต่างๆได้
หากใครคิดว่าราคาน้ำมันที่ 20 เหรียญแล้วซาอุจะอยู่ได้แล้วสบายๆ คงไม่ใช่นะครับ ที่ซาอุจะต้องเกิดการประท้วงครั้งใหญ่แน่ๆครับ
-------------------------
ต้นทุนแฝงของราคาน้ำมันนั้นเป็นไปได้หลายรูปแบบมาก ยกตัวอย่างว่าราคาที่เห็นในข่าวต่างๆ ก็ยังไม่ใช่ราคาที่เราไปรับซื้อเค้าได้จริงๆด้วย
หลายๆท่านอาจจะได้ยินว่าน้ำมันที่อเมริกาทุกวันนี้ผลิตออกมาล้น ต้องรีบส่งออก ถ้างั้นเราก็ต้องรีบไปซื้อจากเค้าสิ ราคา WTI ทุกวันนี้ราคาถูกกว่า Brent ตั้งแยอะแยะ คุณภาพดีด้วย ควรจะรีบซื้อเยอะๆเลย
แต่จะบอกว่าราคา WTI ที่เราเห็นกันนั้น เป็นราคาส่งมอบที่ Cushing, Oklahoma นะครับ หากจะนำออกมาถึงน่านน้ำให้ส่งออกได้จริงๆ ยังต้องบวกต้นทุนในการลำเลียงออกมาที่ท่าอีก ถามว่าค่าส่งจะแพงเท่าไหร่เชียว ? ทุกวันนี้คนทางนู้นเค้าคิดค่าส่งออกมาถึงท่าราคาประมาณ 6-7 เหรียญต่อบาร์เรลนะครับ ขูดรีดราคากันมากเพราะทางอมเริกาเป็นคนเดียวที่คุมท่อ เค้าจะคิดราคาเท่าไหร่ก็ได้
-------------------------
สรุป - ทั้งหมดนี้คือเหตุผลที่ทำให้ราคาต้นทุนที่ผลิตออกมาได้จากหลุมนั้นเป็น เพียงแค่ข้อมูลส่วนเดียวที่เราจะนำไปวิเคราะห์ราคาน้ำมันต่อได้ครับ ยังมีอีกหลายๆปัจจัยที่เรายังต้องคำนึงถึงอีกด้วยครับ
ขอบคุณที่ติดตาม Oil Trading KP ครับ
Comments
Post a Comment