เปิดโพยการใช้บัตรเครดิตให้คุ้มค่าที่สุด!!!



เนื่องจากผมไปประจำการอยู่ต่างประเทศมาหลายปี ล่าสุดย้ายกลับมาอยู่ไทยถาวรเลยต้องเริ่มหาบัตรเครดิตที่จะได้ประโยชน์สูงสุด ผมเลยทำการศึกษาและทำออกมาเป็นโพย เผื่อจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆครับ แต่หากใครมีโพยที่ดีกว่า เจ๋งกว่า ก็รบกวนแชร์กลับมาให้ด้วยนะครับ 55

หลังจากทำการศึกษา (ในเวลาอันสั้น) ผมก็พบว่า มันไม่มีบัตรใดบัตรหนึ่งที่ดีที่สุด แต่มันจะต้องมีศิลปะในการใช้ ต้องมีการผสมผสาน จัดแบ่ง Category จึงเป็นเหตุให้ผมเลยต้องตั้ง Excel สร้างตารางมันขึ้นมาเลย แต่ขอทำแค่คร่าวๆ ก่อนนะครับ โดยเป้าหมายการเลือกใช้บัตรของผมคือ

"เราจะไม่ยอมจ่ายค่าธรรมเนียม"

"ผลประโยชน์สูงสุดใน Category นั้นๆ" และ

"เหมาะกับ Lifestyle ของแอดเอง"

โดย หลังจากผมนั่งคำนวณดูแล้ว ยังไง การได้ไมล์ ROP ถือว่าคุ้มกว่า Cash back เพราะ ปัจจุบันบัตรเครดิตที่ให้ Cashback สูงสุดยังคงอยู่ที่ 1% ซึ่งยังถือว่าน้อยอยู่ จะมีแค่เพียงบาง Category เท่านั้น ที่ให้คืนสูงหน่อย

ดังนั้นผมขอสรุปให้ดูในตารางเป็นทั้ง 2 กลุ่ม นะครับ  1) บัตรเครดิตเพื่อการสะสม ROP และ 2) บัตรเครดิตเพื่อรับเงินคืนและส่วนลด  เพราะบางคนอาจจะไม่ได้อยากได้ไมล์แล้วแต่อยากได้เป็นตัวเงินไปใช้จ่ายอย่างอื่นแทน จึงทำมาให้ดูทั้งสองเคสครับ

.............................................................

1) บัตรเครดิตเพื่อการสะสม ROP

หลังจากดูมาทั้งหมด บัตรที่ผมคิดว่าคุ้ม และเหมาะสมกับผมตอนนี้คือ SCB My Travel card (Mastercard) และ Thai AMEX Platinum ซึ่งสมควรจะมีไว้ทั้ง 2 บัตร เพราะในไทยร้านค้าหลายที่ยังไม่รับ AMEX

ต้องเรียนว่าผมเทียบสมการตามราคาไมล์ที่การบินไทยขายในเว็บนะครับ ที่ราคา 1 ไมล์ = 1.2 บาท ซึ่งจริงๆ แล้วมูลค่าของ 1 ไมล์ นั้นอาจจะไม่ถึงบาทก็ตามเมื่อนำไปใช้ แต่เพื่อให้มีหลักอ้างผมจึงขอใช้เลขนี้เป็นการคำนวน

สิทธิประโยชน์ ดูได้ตามตารางด้านล่างครับ

ทำไมเลือก 2 บัตรนี้ ?

จริงๆ Thai AMEX Platinum กับ Citi ROP Preferred ให้ไมล์ ROP ถือว่าพอๆกัน และดีที่สุดในตลาดตอนนี้ แต่ ค่าธรรมเนียมรายปีของ Citi ROP Preferred นั้น ไม่สามารถขอ Waive ได้ และ AMEX ตอนนี้มีโปรโมชั่นให้ไมล์สะสมถึง 45,000 ROP ไมล์ หากใช้จ่าย 200,000 บาทใน 3 เดือน เทียบเท่ากับ 4.4 บาท ต่อไมล์ ซึ่งถือว่าคุ้มมากๆ ผมเลยคิดจะเลือกใช้ AMEX ในปีนี้ครับ

ส่วน SCB My Travel Card ผมเลือกเพราะ โปรโมชั่น 1 บาท = 1 ROP ไมล์ สำหรับ 5,000 บาทแรก และถึงเเม้ในตลาดจะมีเครดิตการ์ดอื่นๆที่ ให้ไมล์ใกล้เคียงกัน 15-18 บาทต่อไมล์ แต่ผมมองว่า SCB ไม่มีเงื่อนไขแฝงเยอะเหมือนตัวอื่นๆ อย่างเช่น UOB Privi mile ที่กำหนด ขั้นต่ำในการใช้จ่ายและยังลิมิตจำนวนไมล์ที่จะแลกในแต่ละ Quarter อีก

................................................................

2) บัตรเครดิตเพื่อรับเงินคืนและส่วนลด
ในส่วนของบัตรเครดิตที่ได้ Cashback และส่วนลด ผมว่ามันก็ยังมีประโยชน์ สำหรับคนที่ไม่ได้เที่ยวบ่อย และบางร้านค้า เราอาจได้รับเงินคืน ถึง 10 กว่าเปอร์เซนต์ ผมเลือกมา 3 บัตร Citi Cashback , UOB YOLO, และ AEON M Gen ไอตัวสุดท้ายนี่เอาไว้ซื้อตั๋วหนังโดยเฉพาะครับ เนื่องจากผมและภรรยาชอบดูหนังโรงมาก แต่ใครที่เดี๋ยวนี้เลิกดูหนังโรง ดูแต่ Netflix อยู่บ้าน ก็ขอให้ข้ามไป 55

ส่วนสิทธิประโยชน์ ตามตารางด้านล่างเลยครับ



ซึ่งตอนนี้เอาจริงๆ Citi Caskback ก็คุ้มมากกับโบนัสพิเศษเงินคืน 1,000 บาท เมื่อมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ครบ 5,000 บาทขึ้นไป และหากคุณเดินทางด้วย BTS MRT และ Grab คุณก็จะได้เงินคืนและส่วนลด รวมๆเกิน 10% ซึ่งผมว่าก็คุ้มดี

ส่วน UOB YOLO ตัวนี้ผมว่าค่อนข้าง Tricky ด้วยเงื่อนไขเยอะแยะตามเคย สุดท้ายเฉลี่ยแล้ว ก็ได้เงินคืนประมาณ 1 % นั่นแหละ แต่จะมีเผื่อไว้ก็ไม่เสียหายเพราะค่าธรรมเนียมน่าจะ Waive ได้ และได้สิทธิซื้อตั๋วหนัง SF 1แถม 1 แต่ตัวผมน่าจะใช้ Citi Cashback สำหรับเงินคืนแค่ตัวเดียว เพราะไม่อยากพกบัตรเยอะ และผมชอบสะสมไมล์เป็นหลักอยู่แล้ว แต่ใครอยากได้ cashback เป็นหลัก ก็มีอันนี้ไว้อีกใบ ก็ได้ เพราะทั้ง CITI และ UOB จำกัดเงินคืนที่ 2,000 บาทต่อรอบบัญชี มีสองใบก็ได้ถึง 4,000 บาท ครับ (เผื่อใครใช้เงินเยอะ )

และ ผมจะใช้ AEON M Gen สำหรับรับสิทธิตั๋วหนังโดยเฉพาะอีกใบ

................................................................

ทั้งหมดนี้ก็คือแพลนบัตรเครดิตที่ผมจะใช้ในปีนี้ครับ ถ้าเพื่อนๆพี่ๆน้องๆคนไหน มีอะไรเเนะนำ หรือมีโพยที่ดีกว่า ก็ฝากแชร์มาให้ดูกันหน่อยครับ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ การวางแผนใช้เงินและบัตรเครดิต ก็ถือเป็นการลงทุนอีกอย่างด้วยนะครับ



Comments

Popular posts from this blog

"รูปปั้นโอกาส"

ราคาน้ำมันในไทยนั้นอ้างอิงมาจากสิงคโปร์ แต่ราคาที่สิงคโปร์นั้นเค้ากำหนดมาอย่างไร ?

IMO 2020 คืออะไร ? การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของตลาดน้ำมัน