สรุปตลาดน้ำมันประจำอาทิตย์ที่ 4 – 8 มีนาคม ครับ


Image may contain: 1 person, text

เป็นอาทิตย์ที่ไม่ได้มีความเคลื่อนไหวมากในตลาดน้ำมัน ราคาน้ำมันดิบ Brent คงอยู่ในกรอบ 64-67 เหรียญ มาตลอดอาทิตย์ และเป็นวันที่ 16 แล้วที่ราคายังคงอยู่ในกรอบ 64 – 68 เหรียญ 

โดยก่อนหน้านี้ราคาเพิ่งติดอยู่ในกรอบ 60-64 เหรียญมาเป็นเวลาเกือบเดือน ทำให้หากมองภาพใหญ่ขึ้นไปอีกนิดจะเห็นได้ว่าราคาคงอยู่ในกรอบ 60 – 68 มาเป็นเวลาสองเดือนแล้ว 

สรุปง่ายๆว่า ช่วงนี้ราคาน้ำมันค่อนข้างติดอยู่ในกรอบ (Range Bound) ตั้งแต่ต้นปีมาราคาอยู่ในช่วงรีบาวด์จากการเทขายเมื่อปลายปีที่แล้ว โดยทุกๆครั้งที่ตลาดพยายามจะขึ้นจากข่าวปัจจัยน้ำมันตรึงตัว ก็จะโดนฉุดกลับและย่อตัวลงมาด้วยข่าวเศรษฐกิจ ทำให้ราคาไม่สามารถขึ้นได้แรงๆ อย่างที่เราเห็นในปีที่ผ่านมา

------------------------------------------

แนวโน้มราคา

ตอนนี้ข่าวที่สำคัญที่สุดยังคงเป็นเรื่องการเจรจาสงครามการค้า โดยหากมีบทสรุปได้คาดว่าจะทำให้ตลาดหลุดกรอบบนที่ 68 ได้แน่ๆ แต่ถ้าการเจรจาการค้ายังเงียบและไม่คืบหน้า คาดว่าราคาคงยังติดอยู่ในกรอบไปซักพัก และในช่วงที่ราคาติดอยู่ในกรอบนานๆ การเครื่องไหวทางเทคนิคจะยิ่งมีผลที่ชัดยิ่งขึ้น วันนี้จึงอาจจะพูดเรื่องทางเทคนิคเยอะหน่อยครับ

แนวต้านแรกตอนนี้อยู่ที่ 67 เหรียญ เพราะทั้งอาทิตย์ที่แล้วราคาไม่สามารถทะลุแนวนี้ขึ้นไปได้ แม้จะเริ่มต้นอาทิตย์ด้วยข่าวดีเรื่องเจรจาการค้าคืบหน้า หรือเรื่องข่าวโอเปกลกการผลิตต่อเนื่องก็ตาม และต่อมาแนวต้านหลัก ก็อยู่ที่ 68 เหรียญ เพราะเป็นกรอบราคาสองเดือน ราคาต้องขึ้นไปปิดเหนือสองระดับนี้ให้ได้เพื่อที่จะได้มีแรงซื้อใหม่กลับเข้ามาครั

ทางด้านแนวรับแรกอยู่ที่ 64 เหรียญ ถ้าหากหลุดตรงนี้และลงต่ำกว่า 63 ไป ตลาดอาจจะโดนเทขายไปทดสอบที่ 60 เหรียญได้ เพราะจะกลับไปที่กรอบราคา 60-63 เหรียญ ที่ติดมาเดือนกว่า ทำให้ในช่วงกรอบนี้จะไม่มี volume เข้ามาซื้อรับแน่ๆ ตลาดน่าจะลงได้เร็ว

ในช่วงสั้นๆ ราคาเพิ่งลงมาปิดได้ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ทำให้ช่วงต้นอาทิตย์อาจมีแรงขายเข้ามา แต่ทางเพจคิดว่าเข้าช่วงกลางอาทิตย์แล้ว ราคามียังสิทธิขึ้นมากกว่าลง โดยเฉพาะเมื่อเข้าใกล้ช่วงปลายเดือน เพราะไตรมาสสองมีหลายๆ ปัจจัยที่จะเป็นความเสี่ยงต่อตลาดมาก ทำให้นักลงทุนน่าจะเข้ามาซื้อเก็งกำไรอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครบกำหนดผ่อนผันนำมันดิบอิหร่านและการประชุมโอเปก เดี๋ยวอาทิตย์หน้าจะมาเขียนรายระเอียดเรื่องนี้อีกทีนะครับ

------------------------------------------

ทรัมป์เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ราคาคงอยู่ในกรอบปีนี

อย่างที่ได้เคยเขียนไปนะครับ ว่าทรัมป์นั้นเป็นผู้ที่มีอิทธิพลสูงสุดในตลาดตอนนี้ และตอนนี้ทรัมป์มีไพ่สองใบที่จะทำให้ตลาดขึ้นและลงได้

หากทรัมป์ต้องการให้ตลาดขึ้น เค้าก็จะสามารถทวีตเรื่องความคืบหน้าด้านเจรจาการค้า อย่างที่เราเห็นกันเมื่อวันศุกร์หลังจากที่ตลาดโดนเทขายจากข่าว NonFarm Payroll ทรัมป์ก็ได้ออกมาช่วยพยุงตลาดไว้ เพราะตอนนี้สงครามจะหยุดหรือไม่ การค้าจะกลับมา Flow เหมือนเดิมหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับท่านคนเดียว

ต่อมาหากทรัมป์ต้องการให้ตลาดลง เค้าก็จะทวีตถึงกลุ่มโอเปกไม่ให้คุมปริมาณมากเกินไป อย่างที่เราเห็นเมื่อสองสัปดาห์ก่อนว่า หลังจากราคาเริ่มขึ้นไปแตะระดับสูงสุดของปี (New year high) ทรัมป์ก็ได้ทวีตออกมาดันราคาลงไปใหม่

สรุปแล้วทรัมป์ไม่ต้องการให้ราคาน้ำมันถูกไป เพราะอเมริกาเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดในโลก แต่ทรัมป์เองก็ไม่อยากให้ราคาแพงไปเพราะไม่อยากเสียคะแนนเสียง ทำให้ผู้ที่มีอิทธิพลสูงสุดในตลาดตอนนี้คงต้องการให้ราคาอยู่ในกรอบ และราคาก็คงจะอยู่ในกรอบต่อไปจนกว่าเค้าจะเปลี่ยนใจครั

------------------------------------------

ปัจจัยที่น่าติดตามในอาทิตย์หน้า

นอกจากความคืบหน้าด้านการเจรจาการค้าเป็นหลักแล้ว อาทิตย์หน้า 3 องค์กรน้ำมันของโลก OPEC , IEA , EIA จะออกรายงานประจำเดือนออกมา ก็ควรติดตามข้อมูลตลาดล่าสุดจากกลุ่มนี้ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

จีนจะมีการประกาศตัวเลข Output data วันพุธหน้า ซึ่งก็จะเป็นตัววัดสภาพเศรษฐกิจที่ดีอีกตัวนึง อาจทำให้ราคาขยับตอนช่วงเทรดเอเชียได้

------------------------------------------

สรุปข่าวหลักๆ อาทิตย์นี้ (ปัจจัย + และ – ต่างๆ)

โดยรวมแล้วข่าวบวกยังคงเป็นเรื่องในปัจจัยน้ำมันจริงๆ ในขณะที่ข่าวด้านลบจะเป็นเรื่องของทางเศรษฐกิจ

+ Reuters รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปก เดือน ก.พ. 62 ลดลงอยู่ที่ 30.68 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี

+ Alexander Novak รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานรัสเซียเปิดเผยว่า รัสเซียจะลดกำรผลิตน้ำมันดิบให้เร็วขึ้นตามที่ตกลงกับ OPEC

ด้านลบคือมีการปรับลดการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจหลายๆแห่งเช่น

- OECD ปรับลดประมาณการอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโลกในปี 2562 และ 2563 มาอยู่ที่ +3.3% YoY และ +3.4% YoY ลดลง 0.2% YoY และ 0.1% YoY ตามลำดับ

- จีนแถลงเป้ำหมายอัตราการเจริญเติบโตทำงเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 2562 อยู่ในช่วง 6.0-6.5% น้อยกว่ำปีก่อนที่ 6.5%

- ECB หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจยูโรโซนปีนี้เหลือ 1.1% จากเดิมที่ระดับ 1.7%

- สหรัฐฯ รายงานดุลสินค้าในปี 2561 ขาดดุลเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 8.9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 20,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบปีครึ่ง

- National Oil Corp. (NOC) บริษัทน้ำมันแห่งชาติของลิเบีย แถลงว่าได้กลับมำเปิดดำเนินกำรแหล่งน้ำมันดิบ El Sharara (340 KBD) แล้ว

ที่มา Reuters, Bloomberg 

Comments

Popular posts from this blog

"รูปปั้นโอกาส"

ราคาน้ำมันในไทยนั้นอ้างอิงมาจากสิงคโปร์ แต่ราคาที่สิงคโปร์นั้นเค้ากำหนดมาอย่างไร ?

IMO 2020 คืออะไร ? การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของตลาดน้ำมัน