โลกน้ำมันยุคใหม่ โอเปกและพันธมิตร คุมการผลิตน้ำมันของโลกถึง 40-50% แล้ว
เหตุผลหลักๆที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นมาจากเมื่อปลายปีที่แล้วกว่า 40% แล้วในปีนี้ก็คือ การที่กลุ่มโอเปกและพันธมิตรตัดสินใจร่วมมือกันลดกำลังการผลิตน้ำมันเพื่อไม่ให้มีอุปทานมากจนเกินไป
และหากเราลองมาดูในรายละเอียดการลดการผลิตของแต่ละประเทศที่ผ่านมา ก็จะทำให้เราเห็นได้ถึงสัญญาณที่น่ากลัวต่อผู้ใช้น้ำมันอย่างเราในระยะยาวด้วยว่า เรากำลังอาจเข้าสู่โลกน้ำมันยุคใหม่ ที่ราคาน้ำมันอาจจะไม่ได้ถูกไปอีกนาน แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีพลังงานทดแทนใหม่ๆ เข้ามาก็ตาม
การพบปะที่รื่นเริงของกลุ่มโอเปกและพันธมิตร
ก่อนที่จะไปดูในรายละเอียดของการผลิต ช่วงวันเสาร์อาทิตย์นี้เป็นช่วงที่สำคัญของตลาดน้ำมันนะครับ เพราะกลุ่มโอเปกและพันธมิตรได้มีการนัดพบปะกัน และคงเป็นการประชุมที่ชื่นมื่น เพราะทั้งกลุ่มสามารถดันราคาน้ำมันขึ้นมาอีกครั้งในระดับที่กลุ่มต้องการได้สำเร็จ ทุกๆประเทศก็คงมีรายได้เพิ่มขึ้นตามแผนของประเทศ (ยกเว้นอิหร่านและเวเนซุเอลา)
แต่การพบปะในครั้งนี้จะไม่ได้เป็นการประชุมกันอย่างเป็นทางการเรื่องโควตาการผลิตในอนาคต ต้องไปรอประชุมกันเต็มรูปแบบ ในวันที่ 25-26 เดือนมิถุนายนนี้ครับ
สัญญาณที่น่ากลัวในตลาดน้ำมัน
ลองมาดูรายละเอียดในการลดการผลิตของแต่ละประเทศ ว่าแต่ละประเทศลดกำลังการผลิตไปเท่าไหร่กันแล้วบ้าง ลองดูตามกราฟฟิกในรูปเลยนะครับ % แต่ละ % ก็คือปริมาณการลดการผลิตของแต่ละประเทศสมาชิก หากใครลดได้เยอะก็จะเป็นสีฟ้าเข้ม ส่วนใครลดได้น้อยก็จะเป็นสีเทา
หากดูตามเฉดสีแล้วจะเห็นว่า ที่น่าสนใจเลยคือประเทศพันธมิตรนอกกลุ่มอย่าง คาซัคสถาน (Kazakhstan) , อาเซอร์ไบจาน (Azerbaijan) และ เม็กซิโก (Mexico) กลับเป็นประเทศที่ลดกำลังการผลิตได้เป็น % สูงสุด ! ทั้งๆที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มแต่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันเหล่านี้กลับลดกำลังการผลิตเกินกว่าโควตาที่โอเปคมาขอให้ลดไว้อีก !
นี่เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่น่ากลัวมากในตลาดน้ำมัน ว่าราคาน้ำมันอาจจะแพงได้ในระยะยาว เพราะความร่วมมือของพันธมิตรที่ทราบดีว่า หากพวกผู้ผลิตไม่จับมือกันเองอนาคตของราคาน้ำมันคงโดนกดดันจากเทคโนโลยีพลังงานทดแทน หรือ แบตเตอรี่ ใหม่ๆที่จะเข้ามาแทนที่แน่ๆ ครับ
เมื่อเข้าตาจน ผู้ผลิตเหล่านี้จึงต้องร่วมมือกัน เราคงต้องจับตามองการจับมือกันของพวกเค้าอย่างใกล้ชิด
พี่ใหญ่อย่างซาอุ นำทีมอย่างแข็งแกร่ง
หากมาดูตามปริมาณการลดนั้น (ลองดูภาพในคอมเม้นเพิ่มเติมนะครับ) พี่ใหญ่อย่างซาอุยังคงนำทีมอยู่เช่นเคย ลดไปได้ถึงเกือบ 300% ของแผนโควตาการลด และนับเป็นปริมาณถึง 0.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ! คือลดไปพอๆกับการใช้น้ำมันประเทศเราเลย !
ถือเป็นการนำทีมที่แข็งแกร่งและโชว์ให้กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันต่างๆเห็นชัดเลยว่า ซาอุพร้อมเป็นผู้นำในการรักษาระดับราคาน้ำมันไว้ และพร้อมที่จะเจ็บตัวที่สุด ยอมเสียสละให้ทีมเพื่อการใหญ่ที่สำคัญกว่า
ทั้งนี้ถึงแม้ว่าสหรัฐและทรัมป์จะเข้ามากดดันให้ซาอุและโอเปกเร่งเข้ามาผลิตน้ำมันมากขึ้นเท่าไร่ ทางซาอุก็ยังคงไม่สนใจและเดินหน้าลดกำลังเรื่อยๆจนถึงเดือนล่าสุดนี้
รัสเซียทำให้กลุ่มผู้ผลิตยิ่งเป็นปึกแผ่นที่แข็งแกร่ง
ตัวเลขการผลิตของอีกประเทศที่น่าสนใจคือรัสเซีย ที่ล่าสุดลดลงมาต่ำกว่า 11.2 ล้านบาร์เรลต่อวันจนแตะระดับโควตาที่ให้สัญญากับโอเปกได้แล้ว ว่าจะลดลงมาให้ได้ภายใน 6 เดือน (ตัวเลขในกราฟฟิกยังดีเลย์อยู่ประมาณเดือนนึง)
ตอนแรกตลาดยังไม่แน่ใจว่ารัสเซียจะทำตามสัญญาจริงหรือ เพราะปริมาณที่ลดไปก็คือรายได้ที่หายไปของประเทศ แต่การที่รัสเซียผู้ผลิตน้ำมันอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐตอนนี้ ให้ความร่วมมืออย่างสูงกับโอเปก ก็เสมือนกับการผนึกกำลังที่สำคัญ ของกลุ่มผู้ผลิตให้เป็นปึกแผ่นมากขึ้น และคุมการผลิตของโลกรวมกันอยู่ที่ 45 ล้านบาร์เรลต่อวันแล้ว นับเป็นประมาณ 45% ของการผลิตโลก !
สรุป
ตัวเลขที่น่าสนใจที่สุดในบทความนี้คงจะเป็น การที่เราเคยชินกับการที่โอเปกคุมกำลังการผลิตน้ำมันประมาณ 30-40% มาตลอด แต่วันนี้หากนับรวมพันธมิตรของโอเปกด้วย พวกเค้าควบคุมถึง 40-50% ของปริมาณการผลิตโลก
และการที่ทุดคนหันหน้าเข้ามาร่วมมือกันอย่างเคร่งครัดก็เป็นสัญญาณให้เห็นว่า พวกเค้าจะไม่ยอมให้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนใหม่ๆ เข้ามาทำให้ธุรกิจและรายได้หลักของประเทศเค้าลดลง
นี่อาจจะนับว่าเป็นยุคน้ำมันใหม่ที่เราอาจไม่เคยเห็นมาก่อนครับ
-------------------------------------------------------------------
รูปเพิ่มเติม
ตารางการข้อมูลการผลิตของกลุ่มโอเปกและพันธมิตร โดยตอนนี้รวมกันผลิตได้ 45 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่โลกมีปริมาณความต้องการใช้ประมาณ 99 ล้านบาร์เรลต่อวัน
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhxLpMI6HUVo-tVMQ6ZSPHAJauoLA1C36spqfNoSdtv3qEVYG9MMmHgwJdEj3YovKdo9IaCg2wNi0yr9TCkWu2tBeP2x4KGdV8FUs-UpYyRFOeamVRPWFUwrtX81JN4FlJ1fw5_QvmS-1I/s320/table+Cut+by+countries.jpg)
การผลิตของกลุ่มโอเปกและพันธมิตร โดยพื้นที่ที่เห็นคือปริมาณการผลิตของแต่ละประเทศ ประเทศที่มีสีน้ำเงินคิอลดการผลิตจนถึงสัญญาโควตาที่ให้กันไว้แล้ว
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgIPGqzHRaErxLeNI0quW7dZIjLGCTMNylGplvUR0sF0OLE4OdFVxhrd8DSDswnnzYPET5Ub_rWtmEH3CLfokfzbtQcl1a7J9fr6JLxi0ecLaAuCuBW5YWTKCFmzBtgVge6_lANDg0OcCE/s320/April+production.jpg)
การลดการผลิตของแต่ละประเทศโอเปกและพันธมิตร โดยกรอบสี่เหลี่ยมขอบสีดำคือระดับสัญญาโควตาที่ให้กันไว้ ส่วนกรอบสีคือระดับการลดของแต่ละประเทศ
หากใครทำได้ถึงหรือเกินเป้า สีจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjDyoylMoyF2TawfJqw1vHE329xY40jVYJYz80dySS5Ubvs2MgtShxRLQc2MugAZnIFGx0-ZqWEQJNP6vChnJZtry9FrIN4kalQJK1vSFcFMyXlztvagyBFYoAPWr_WJgmeadLaolH_bYU/s320/Cut+by+countries.jpg)
ที่มา: https://www.bloomberg.com/graphics/opec-production-targets/
และหากเราลองมาดูในรายละเอียดการลดการผลิตของแต่ละประเทศที่ผ่านมา ก็จะทำให้เราเห็นได้ถึงสัญญาณที่น่ากลัวต่อผู้ใช้น้ำมันอย่างเราในระยะยาวด้วยว่า เรากำลังอาจเข้าสู่โลกน้ำมันยุคใหม่ ที่ราคาน้ำมันอาจจะไม่ได้ถูกไปอีกนาน แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีพลังงานทดแทนใหม่ๆ เข้ามาก็ตาม
การพบปะที่รื่นเริงของกลุ่มโอเปกและพันธมิตร
ก่อนที่จะไปดูในรายละเอียดของการผลิต ช่วงวันเสาร์อาทิตย์นี้เป็นช่วงที่สำคัญของตลาดน้ำมันนะครับ เพราะกลุ่มโอเปกและพันธมิตรได้มีการนัดพบปะกัน และคงเป็นการประชุมที่ชื่นมื่น เพราะทั้งกลุ่มสามารถดันราคาน้ำมันขึ้นมาอีกครั้งในระดับที่กลุ่มต้องการได้สำเร็จ ทุกๆประเทศก็คงมีรายได้เพิ่มขึ้นตามแผนของประเทศ (ยกเว้นอิหร่านและเวเนซุเอลา)
แต่การพบปะในครั้งนี้จะไม่ได้เป็นการประชุมกันอย่างเป็นทางการเรื่องโควตาการผลิตในอนาคต ต้องไปรอประชุมกันเต็มรูปแบบ ในวันที่ 25-26 เดือนมิถุนายนนี้ครับ
สัญญาณที่น่ากลัวในตลาดน้ำมัน
ลองมาดูรายละเอียดในการลดการผลิตของแต่ละประเทศ ว่าแต่ละประเทศลดกำลังการผลิตไปเท่าไหร่กันแล้วบ้าง ลองดูตามกราฟฟิกในรูปเลยนะครับ % แต่ละ % ก็คือปริมาณการลดการผลิตของแต่ละประเทศสมาชิก หากใครลดได้เยอะก็จะเป็นสีฟ้าเข้ม ส่วนใครลดได้น้อยก็จะเป็นสีเทา
หากดูตามเฉดสีแล้วจะเห็นว่า ที่น่าสนใจเลยคือประเทศพันธมิตรนอกกลุ่มอย่าง คาซัคสถาน (Kazakhstan) , อาเซอร์ไบจาน (Azerbaijan) และ เม็กซิโก (Mexico) กลับเป็นประเทศที่ลดกำลังการผลิตได้เป็น % สูงสุด ! ทั้งๆที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มแต่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันเหล่านี้กลับลดกำลังการผลิตเกินกว่าโควตาที่โอเปคมาขอให้ลดไว้อีก !
นี่เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่น่ากลัวมากในตลาดน้ำมัน ว่าราคาน้ำมันอาจจะแพงได้ในระยะยาว เพราะความร่วมมือของพันธมิตรที่ทราบดีว่า หากพวกผู้ผลิตไม่จับมือกันเองอนาคตของราคาน้ำมันคงโดนกดดันจากเทคโนโลยีพลังงานทดแทน หรือ แบตเตอรี่ ใหม่ๆที่จะเข้ามาแทนที่แน่ๆ ครับ
เมื่อเข้าตาจน ผู้ผลิตเหล่านี้จึงต้องร่วมมือกัน เราคงต้องจับตามองการจับมือกันของพวกเค้าอย่างใกล้ชิด
พี่ใหญ่อย่างซาอุ นำทีมอย่างแข็งแกร่ง
หากมาดูตามปริมาณการลดนั้น (ลองดูภาพในคอมเม้นเพิ่มเติมนะครับ) พี่ใหญ่อย่างซาอุยังคงนำทีมอยู่เช่นเคย ลดไปได้ถึงเกือบ 300% ของแผนโควตาการลด และนับเป็นปริมาณถึง 0.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ! คือลดไปพอๆกับการใช้น้ำมันประเทศเราเลย !
ถือเป็นการนำทีมที่แข็งแกร่งและโชว์ให้กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันต่างๆเห็นชัดเลยว่า ซาอุพร้อมเป็นผู้นำในการรักษาระดับราคาน้ำมันไว้ และพร้อมที่จะเจ็บตัวที่สุด ยอมเสียสละให้ทีมเพื่อการใหญ่ที่สำคัญกว่า
ทั้งนี้ถึงแม้ว่าสหรัฐและทรัมป์จะเข้ามากดดันให้ซาอุและโอเปกเร่งเข้ามาผลิตน้ำมันมากขึ้นเท่าไร่ ทางซาอุก็ยังคงไม่สนใจและเดินหน้าลดกำลังเรื่อยๆจนถึงเดือนล่าสุดนี้
รัสเซียทำให้กลุ่มผู้ผลิตยิ่งเป็นปึกแผ่นที่แข็งแกร่ง
ตัวเลขการผลิตของอีกประเทศที่น่าสนใจคือรัสเซีย ที่ล่าสุดลดลงมาต่ำกว่า 11.2 ล้านบาร์เรลต่อวันจนแตะระดับโควตาที่ให้สัญญากับโอเปกได้แล้ว ว่าจะลดลงมาให้ได้ภายใน 6 เดือน (ตัวเลขในกราฟฟิกยังดีเลย์อยู่ประมาณเดือนนึง)
ตอนแรกตลาดยังไม่แน่ใจว่ารัสเซียจะทำตามสัญญาจริงหรือ เพราะปริมาณที่ลดไปก็คือรายได้ที่หายไปของประเทศ แต่การที่รัสเซียผู้ผลิตน้ำมันอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐตอนนี้ ให้ความร่วมมืออย่างสูงกับโอเปก ก็เสมือนกับการผนึกกำลังที่สำคัญ ของกลุ่มผู้ผลิตให้เป็นปึกแผ่นมากขึ้น และคุมการผลิตของโลกรวมกันอยู่ที่ 45 ล้านบาร์เรลต่อวันแล้ว นับเป็นประมาณ 45% ของการผลิตโลก !
สรุป
ตัวเลขที่น่าสนใจที่สุดในบทความนี้คงจะเป็น การที่เราเคยชินกับการที่โอเปกคุมกำลังการผลิตน้ำมันประมาณ 30-40% มาตลอด แต่วันนี้หากนับรวมพันธมิตรของโอเปกด้วย พวกเค้าควบคุมถึง 40-50% ของปริมาณการผลิตโลก
และการที่ทุดคนหันหน้าเข้ามาร่วมมือกันอย่างเคร่งครัดก็เป็นสัญญาณให้เห็นว่า พวกเค้าจะไม่ยอมให้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนใหม่ๆ เข้ามาทำให้ธุรกิจและรายได้หลักของประเทศเค้าลดลง
นี่อาจจะนับว่าเป็นยุคน้ำมันใหม่ที่เราอาจไม่เคยเห็นมาก่อนครับ
-------------------------------------------------------------------
รูปเพิ่มเติม
ตารางการข้อมูลการผลิตของกลุ่มโอเปกและพันธมิตร โดยตอนนี้รวมกันผลิตได้ 45 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่โลกมีปริมาณความต้องการใช้ประมาณ 99 ล้านบาร์เรลต่อวัน
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhxLpMI6HUVo-tVMQ6ZSPHAJauoLA1C36spqfNoSdtv3qEVYG9MMmHgwJdEj3YovKdo9IaCg2wNi0yr9TCkWu2tBeP2x4KGdV8FUs-UpYyRFOeamVRPWFUwrtX81JN4FlJ1fw5_QvmS-1I/s320/table+Cut+by+countries.jpg)
การผลิตของกลุ่มโอเปกและพันธมิตร โดยพื้นที่ที่เห็นคือปริมาณการผลิตของแต่ละประเทศ ประเทศที่มีสีน้ำเงินคิอลดการผลิตจนถึงสัญญาโควตาที่ให้กันไว้แล้ว
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgIPGqzHRaErxLeNI0quW7dZIjLGCTMNylGplvUR0sF0OLE4OdFVxhrd8DSDswnnzYPET5Ub_rWtmEH3CLfokfzbtQcl1a7J9fr6JLxi0ecLaAuCuBW5YWTKCFmzBtgVge6_lANDg0OcCE/s320/April+production.jpg)
การลดการผลิตของแต่ละประเทศโอเปกและพันธมิตร โดยกรอบสี่เหลี่ยมขอบสีดำคือระดับสัญญาโควตาที่ให้กันไว้ ส่วนกรอบสีคือระดับการลดของแต่ละประเทศ
หากใครทำได้ถึงหรือเกินเป้า สีจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjDyoylMoyF2TawfJqw1vHE329xY40jVYJYz80dySS5Ubvs2MgtShxRLQc2MugAZnIFGx0-ZqWEQJNP6vChnJZtry9FrIN4kalQJK1vSFcFMyXlztvagyBFYoAPWr_WJgmeadLaolH_bYU/s320/Cut+by+countries.jpg)
ที่มา: https://www.bloomberg.com/graphics/opec-production-targets/
Comments
Post a Comment